Monday 18 November 2019

hospital visit (3)

ผู้ป่วยที่โรงบาลนี้ (file)
'อ้อเหรอเค้าพูดแค่นี้พร้อมยิ้มๆ 
แม่ดูไม่สะเทือนใจเท่าไร เค้าคงรู้นิสัยลูกตัวเองดี
ผมสงสารน้องที่ต้องเข้ารักษาตัวในที่แปลกๆ แบบนี้
ผมนึกย้อนถึงช่วงเวลา 25 ปีที่แล้ว ที่ผมเป็นโรคซึมเศร้า ที่ต้องไปรักษาตัวที่ ร พ เหมือนกัน
เราต้องเข้าสถานพยาบาลหลายที่ก่อนอาการจะหาย
ผมถึงรู้ดีว่า น้องคงกลัวสภาพจิตตัวเอง ว่าบ้าจริงรึป่าวตอนนี้
นึกไปแล้วผมอยากลุกขึ้นไปโอบกอดน้องให้กำลังใจเค้า   
แต่ไม่กล้าแสดงออกขนาดนั้นให้คนอื่นเห็น
ก่อนไปถึง ร พ  แม่บอกว่าน้องได้มีเพื่อนวัยรุ่นในกลุ่มผู้ที่มาบำบัดตัวแล้ว
'แม่เองกอดเค้าไม่ได้ ไม่กล้าจับ เดี๋ยวน้องจะอายเพื่อนแม่ทักไป
-
กลับไปที่ห้องรับรองผู้เยี่ยมหน่อย พอแม่คุยกับลูกเสร็จ ก็มาถึงตาผมที่พูดบ้าง
แต่ผมไม่รู้ว่าจะพูดอะไรดี
ก่อนมานี้ ผมรู้สึกตื่นเต้นกึ่งกังวลใจว่าจะเจอน้องในสภาพจิตใจแบบไหน
แต่พอเจอตัวจริงแล้วก็เห็นว่าน้องดูเป็นเวอร์ชั่น เหงาๆ เศร้าๆ เล็กกว่าตัวเองจริงที่เรารู้จักข้างนอก ผมรู้สึกเศร้ากับเค้า
น้องดูกลัว คิดถึงบ้าน อ่อนแอ ไม่ค่อยพูดจากับใคร 
พอเห็นน้องนั่งเงียบๆ แล้วในสถานะดูเป็นเด็กมากขึ้น ผมเก็บอารมณ์ไม่อยู่แล้ว
'ในเรื่องของยาผมจะไม่ไปสั่งหรือห้ามธีร์ทำอะไรหรอก ผมแค่อยากให้แกกลับมาแข็งแรงดีผมบอกพร้อมกับร้องไห้
'ผมบอกตั้งแต่แรกแล้ว ผมเอาสามข้ออย่างเดียวนะลูก อยากให้แกมีความสุข ปลอดภัย และแข็งแรง'
น้องไม่ได้สะเทือนใจเท่าไรหรอก แต่กลับมองหน้าผมเหมือนอยากหัวเราะใส่ 
พอเราเห็นว่า น้องก็ยังทำตัวทะเล้นๆ ขี้เล่นๆ แบบเมื่อก่อนได้
ถึงจะอยู่ในที่แปลก แล้วก็นั่งอยู่กับแม่ที่พูดไม่ค่อยน่ารักก็ตาม
เสมือนหนึ่งว่าตัวธีร์ที่เรารู้จักมาก่อน
ผมรู้สึกโล่งใจเลย
สปีริตเดิมๆ ของน้องเริ่มฟื้นฟูกลับมาอีกแล้ว 
'บ้ารึป่าวเนี่ยะน้องคงคิดในใจ
-
มีจังหวะหนึ่ง เรายังคุยไม่เสร็จแต่หมอเจ้าของไข้แทรกตัวมานั่งคุยด้วย
เค้าถามน้องเล่นๆว่า 'อยากอยู่ต่อจนการรักษาเสร็จจริงอีกสามสี่เดือนโน่นไหมลูก'
หมอรู้ดีว่าจะไม่มีใครในกลุ่มผู้ป่วยอยากอยู่นานๆ หรอก เด็กส่วนใหญ่อยากกลับบ้านทันทีตั้งแต่มาถึง ร พ วันแรก
แต่พูดไปแล้วพวกหมอและบุรุษพยาบาลที่ ร พ นี้ ดูเป็นห่วงและเอ็นดูน้องๆผู้รับการรักษาดี 
แล้วผมไม่ต้องอายใครหรอกถ้าอยากร้องต่อหน้าเค้า
นอกจากแม่และผม ในห้องรับแขกวันนี้ ก็มีพวกญาติของน้องอีกรายหนึ่งนั่งอยู่ด้วย
ถ้าผมร้องไห้ หรือน้องจะร้องเอง ก็เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับสถานบำบัดตัวแบบนี้
คือ ร พ บำบัดผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด ต้องหันไปรักษาแผลใจระหว่างคนในครอบครัวผู้รับการบำบัดด้วย ไม่ใช้น้องๆคนเดียวหรอก
สมมุติว่ามีน้องคนนึงเล่นยา แต่คนในวงครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ที่น้องได้รู้จัก มักจะรับผลกระทบการเล่นยาของเค้าติดกันไปด้วยกลายเป็นวงกว้างเลย
ทุกคนโดนอิทธิพลยาเสพติดไปแทรกแซงทำร้ายกับชีวิตโดยทางอ้อม เช่น พ่อแม่อาจจะทะเลาะกับน้องบ่อยถ้าเค้าไม่ยอมเลิกเล่นจนครอบครัวแตกร้าวหรือแตกแยกกันก็ได้ 
ถ้าไม่พอใจเพื่อนอาจจะเลิกคบกับผู้เล่นยาอีก 
เค้าได้รับผลข้างเคียงจากการเล่นยาของน้องกันไปหมด 
บางครั้งการรักษาแผลใจระหว่างน้องกับคนในครอบครัวที่ถูกรับแรงความแตกร้าวไปอย่างนั้น ก็เริ่มต้นจากผู้รับบำบัดที่ยอมใจเข้าไปบำบัดตัว
เพราะที่น้องยอมไปรักษาตัวก็แสดงว่าเค้ารู้สึกผิด และพร้อมจะรับผิดชอบตัวเอง
เมื่อน้องยอมเข้ารักษาตัวและเลิกเล่นยา พ่อแม่ก็เริ่มสบายใจได้แล้ว 
เค้าจะเลิกต่อสู้กับลูกแล้ว ครอบครัวเค้าจะได้มีโอกาสพักหัวใจบ้าง
ทุกอย่างน่าจะดีขึ้นตามการเวลาของมัน
แต่ถึงจะเป็นยังนั้นก็เหอะ การรักษาตัวน้องที่ติดยาก็ยังเป็นเรื่องยากหน่อยสำหรับทุกคน
น้องๆจะคิดถึงบ้าน
พ่อแม่ เพื่อน จะสงสาร 

now, see here

No comments:

Post a Comment

เขียนเป็นไทยหรืออ้งกฤษก็ได้คับ Thai or English is fine...

โพส์ตเด่น

20plus club (Postscript 3, final)

แคปชั่นก๊อปจากเน็ต: โรงพยาบาลตำรวจบริเวณสี่ แยกราชประสงค์ ปี พ.ศ. 2542 แจกเสร็จ น้องก็นั่งรอจ่ายบิลอยู่ข้างๆผม มือน้องสั่น เหงื่อออกเต็มหน้า...

โพส์ตนิยม