Sunday 21 March 2021

ลืมวันเกิดน้องสาว

กระดาษโน๊ต
ไดอารี่เก่า
  'ขอโทษที่เราพลาดลืมวันเกิดเธอ'
ฉันเขียนส่งอีเมลไปยังน้องสาวคนโต ชื่อแซลลี่
ปกติเราพยามส่งคำอวยพรวันเกิดให้กันทุกปี
แต่อาทิตย์ที่แล้วงานยุ่งจนส่งไม่ทัน
เรารู้แต่คร่าวๆว่าวันเกิดแซลลี่นี้น่าจะมาในช่วงประมาณต้นเดือนมีนา
แต่จำวันเป๊ะๆไม่ได้ พอถึงวันนั้นแล้วดันลืมส่งอีเมลไปให้เค้า
เราจึงต้องขอโทษเค้าทีหลัง
-
ที่ห้องเรามีไดอารี่เก่า
ที่เอามาจากประเทศบ้านเกิด เก็บไว้เป็นที่ระลึกและเป็นตัวกระตุ้นความทรงจำเลือนลางของเรา ว่าที่บ้านเกิดเราทำอะไรกันบ้างสมัยนั้น
คั่นกลางไดอารี่ฉบับนี้ เราเขียนกระดาษโน๊ตไว้ให้กับตัวเองก่อนจะเดินทางมาเมืองไทย
เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
ที่เขียนไล่วันเกิดคนในครอบครัวตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้นทุกปี
เราเขียนไว้เพราะถ้าไม่มีที่กระตุ้นความจำแบบนี้คงจะลืมทุกคน
สำหรับแซลลี่ น้องสาวคนโตที่อายุย่างเข้า 51 ปี ในเดือนนี้
เราจดไปว่า  วันเกิดเค้าคือ วันที่ 1 เดือน มีนา
วันนั้นที่ฉันขียนขอโทษเค้า เป็นวันที่ 5 มีนา
วันนั้นที่เขียนคำอวยพรแบบย้อนหลัง เราก็เช็คกระดาษที่เราโน๊ตไว้ก่อนส่งอีกที่
ถึงรู้ว่าวันเกิดเค้าผ่านไป 5 วันแล้วจริงๆ
แต่คำตอบที่ได้รับกลับมาในวันถัดไปไม่เป็นไปตามคาด
'ไมเคิลไม่ได้พลาดวันเกิดฉันหรอก เป็นวันพรุ่งนี้ต่างหาก' แซลลี่เขียนตอบกลับมา
อ้าวเหรอ เกิดอะไรขึ้น พี่งง
เรากลับไปเช็คกระดาษอีกที
มันบอกว่าวันเกิดเค้าคือวันที่ 1 ตามที่เราคิด
แล้วเราเช็คโน๊ตนี้เกือบทุกปีก่อนส่งอีเมลคำอวยพร
คิดไปคิดมาว่า พอจะไขปริศนาเรื่องนี้ได้แล้ว
ปรากฏว่าเราเขียนวันเกิดเค้าผิดตั้งแต่แรก
และมักจะส่งอีเมลไปยังแซลลี่ทุกปีตามวันที่จดผิดไว้ โดยเราต่างฝ่ายไม่สังเกตุอะไรเลยว่า เราส่ง
คำอวยพรผิดวันไปตลอดทั้ง20 ปีที่ผ่านมานี่เอง
แปลกมั้ย
-
'เราเขียนผิดไป'  ฉันอธิยายในอีเมลต่อมา
พร้อมแนบส่งรูปไดอารี่เก่าแก่ฉบับนั้นไปให้เค้าดู
ทัังรูปกระดาษที่เขียนวันเกิดผิด
แซลลี่ไม่ได้ตอบอะไรกลับมา
โกรธหรือหัวเราะกับพี่ชายขี้ลึมคนนี้รึป่าวไม่รู้
เราขีดแก้วันเกิดเค้าในกระดาษด้วย
แต่เรื่องนี้น่าจดไว้ในบล๊อกนี่แหละ
เผื่อปีหน้าจะหลงลืมเค้าอีกที

Sunday 18 October 2020

Maskless in Bangkok (part 6, final)

 VOA asks: หน้ากากสำหรับวิถีชีวิตใหม่ แต่ทำไมบางคนไม่อยากทำตาม? Why indeed!
     
ผู้นำนักการเมืองจะว่ายังไงก็แล้วแต่
แต่คนส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าเราต้องปรับจูนชีวิตให้เข้ากับไวรัสนี้ได้แล้ว
ไม่ใช่หาที่ลบโดยปิดบ้าน ปิดเศรษฐกิจ ปิดท้องฟ้า
ในช่วงนี่ที่เรายังรอการพัฒนาวัคซีนอยู่
ยังไงก็ตามผู้เชียวชาญบอกว่า วัคซีนจะไม่สามารถรักษาได้อย่างมหัศจรรย์
เพราะผลวัคซีนอาจจะเข้าไม่ทั่วถึง
สมัยนี้ยังมีหลายคนต่อต้านการฉีดวัคซีนด้วย
-
แต่ในมุมบวก อัตราคนตายจากไวรัสได้ลดลงจากตอนแรก เพราะเรารักษาผู้ป่วยได้ดีขึ้น
และผู้ที่เสียชีวิตจากไวรัสนี้ ส่วนใหญ่มีอายุมากและมีโรคอื่นแทรกซ้อนด้วย
ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์บางคนเปลี่ยนความคิด เค้ายังเชื่อว่า
เพื่อสร้างความต้านทานต่อไวรัสเราต้องสัมผัสกับมันมากขึ้นต่างหาก
กลับลำกับแนวคิดตอนแรกๆ ที่ให้เรากาที่หลบอย่างเดียว
พวกเขาแนะนำให้เราแยกผู้สูงอายุออกไป ให้อยู่ใต้มาตรการ lockdown
อย่างเมื่อก่อน และบังคับให้คนอื่น ๆ ใช้ชีวิตปกติเพื่อจะเกิดความ herd
immunity
-
ผ่านไปแล้วหลายเดือนตั้งแต่ทางรัฐสั่งให้ประเทศเข้าสู่ lockdown
ผมปล่อยตัวหน่อย
ในการรับมือและ ปฏิบัติตัวกับ lockdown นั้น
เพราะไม่ค่อยมั่นใจในระบบนี้เป็นหลายๆอย่าง
ถ้าฉันยังสวมหน้ากากอนามัย ก็เท่ากับว่าผมซื้อตั๋วเข้าสู่สังคมที่ 'ปลอดภัย'
ในสายตาพวกนั้นที่ยังเคร่งเครียดอยู่เรื่องนี้
ผู้คนจะมองว่าฉันเป็นคนที่คล้อยตามพวกเขา แล้วคงจะสบายใจในระดับหนึ่ง
ผมจะยอมใจทำเพื่อเค้าเท่านั้น
ฉันจะทำเพื่อรณรงค์ต่อต้านไวรัส แต่ใน space ส่วนตัวก็ยังคงหาโอกาสไม่สวมใส่ด้วย
(เช่นเวลาอยู่คนเดียว)
และค่อยส่งสัญญาณให้เพื่อนคนไทยรู้ว่าถึงเวลาที่เราจะเริ่มใช้ชีวิตเข้ากับไวรัสนี้ไปแล้ว
จุดยืนของฉันปักหลักอยู่ที่เศรษฐกิจ
เราต้องเริ่มซ่อมแซมและช่วยมันฟื้นขึ้นบ้าง ถึงจะเจอเสี่ยงติดโรคก็ตาม
เพราะไวรัสไม่แรงอย่างเท่าที่คนคิดในตอนแรก และที่ยิ่งกว่านี้ คุนถาพ
ชีวิตคนสำคัญมากกว่า                      

Maskless in Bangkok (part 5)

Line-up at the local 7-11

รุปแล้ว นักการเมืองพวกนี้ แสดงให้เห็นถึงการขาดความเป็นผู้นำ
เค้าประเมินความเสียหายต่อเศรษฐกิจต่ำเกินไปและ
ไม่ยอมมีนโยบายต่อสู้ที่สมดุลมากกว่านี้
เศรษฐกิจอาจจะตกต่ำลงไปเรื่อยจนกว่าจะได้ค้นพบวัคซีนแก้วไวรัสให้หายขาดดี
เพราะการค้นพบและการพัฒนาวัคซีนต้องใช้เวลานาน
และวัคซีนอาจไม่สามารถรักษาได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วย
นิวซีแลนด์ อดีตประเทศบ้านอาศัยผม กำหนดให้มีการปิดกั้นอย่างเข้มงวดและประกาศชัยชนะแบบอวดฝีมือในการสู้รบกับไวรัส phase แรก
แต่ไวรัสก็ยังกลับมาโจมตีภายในประเทศนั้นอยู่ดี
ชาวบ้านที่นั้น ก็เริ่มเสียความมั่นใจในสภาวะ lockdown แล้ว
-
ในเมืองไทยตอนนั้น
ขณะทางรัฐยังบังคับให้คนกักตัวอยู่ที่บ้าน ปชช ดันพบเห็นว่า ขอควรปฎิบัติยังเต็มไปด้วยช่องโหว่
เช่น คุณอาจตรวจอุณหภูมิตัวเองที่ 7-11 แต่เมื่อเข้าไปข้างในพบว่าต้องโดนคนเบียดเสียดกัน
เหมือนปลาซาร์ดีน social distancing  หายไปไหน
หรือคุณจะอุตส่าฝากทิ้งชื่อ กับที่อยู่ เอาใว้ที่หน้าห้าง (ซึ่งต้องใช้เวลา)
แต่พอเดินเข้าไปก็เห็นทั้งร้านว่างเปล่าอยู่ดี
เพราะคนยังไม่กล้าออกไปข้างนอก
แค่นี่ยังไม่พอ เราจะยังเจอพวกดื้อรั้นไม่ยอมสวมหน้ากากข้างนอกอีกด้วย
-
ต่อจากนั้น ไวรัสเกิดแพร่ระบาดเข้าสังคมเป็นระลอกที่สอง
อัตราผู้เสียชีวิตก็น้อยกว่าครั้งแรก
แต่ประเทศขี้อวดๆ อย่างนิวซีแลนด์ ที่รีบประกาศก่อนหน้านี้ว่าได้ชนะไวรัส (เฟสแรก)ไปแล้ว ต้องเสียหน้าและเลยดูโง่เขลาไม่น้อย
เนื่องจากต้องกำหนดมาตรการควบคุมชุดใหม่ทำให้คนในท้องถิ่นโกรธแค้นและประท้วงบนท้องถนน
พวกนักกานเมืองและนักวิทยาศาสตร์คงตกะใจไม่น้อยเช่นกัน
เพราะประชาชนเกิดฉลาดกว่าเมื่อก่อน (คือรู้มาก) และไม่ยอมฟังพวกมันอีกแล้ว
หลังจากถูกนักวิทยาศาสตร์และนักการเมืองพาไปทำชีวิตตัวเองพัง โดยยกสูตร lockdown เป็นพระเจ้า
ต่อจากนี้ถ้าทางรัฐจะให้ ปชช เข้า lockdown อีก
ไม่มีใครจะสนใจหรอก
พวกเขาได้สร้างภูมิคุ้มกันต่อต้าน lockdown
ในแบบเดียวกับที่ร่างกายของผู้คนทำเมื่อไปสัมผัสกับไวรัสจริงนั้นเอง

Lucky still to have jobs...
-
ยังที่ว่าไปแล้ว ปัญหาไวรัสกลายเป็นประเด็นทางการเมือง (เช่นเดียวกับการจลาจลในการ race)
เพราะผลกระทบไม่สม่ำเสมอและไม่ได้รับการแบ่งปันอย่างเท่าเทียมกัน
พวก progressives โต้แย้งว่าไวรัสดีดตัวขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆคลี่คลาย
lockdown เร็วเกินไปและพวกเค้าต้องการดึงสะพานขึ้นมาอีกครั้ง
ในขณะพรรค conservatives เน้นการฟื้นตัวเศรษฐกิจก่อน
เนื่องจากว่า lockdown ไม่ได้ตอบโจทย์
และที่จริงแล้วเป็นวิธีการแก้ไขที่เต้มไปด้วยข้อบกพร่อง
พวกเค้าเชียร์มาตรการแบบปานกลาง ไม่ใช่เข้มข้น
เค้าหนุนแนวทางแก้ที่มีความยั่งยืนเนื่องจากไวรัสอาจอยู่กับเราไปอีกนาน
เค้าผลักดันนักวิทยาศาสตร์ให้เห็นด้วย
เพื่อให้เศรษฐกิจจะเปิดอีกครั้ง

now, see here

โพส์ตเด่น

20plus club (Postscript 3, final)

แคปชั่นก๊อปจากเน็ต: โรงพยาบาลตำรวจบริเวณสี่ แยกราชประสงค์ ปี พ.ศ. 2542 แจกเสร็จ น้องก็นั่งรอจ่ายบิลอยู่ข้างๆผม มือน้องสั่น เหงื่อออกเต็มหน้า...

โพส์ตนิยม