Monday 18 November 2019

job at the 7-11, back to rehab (13)

บ้านพักที่  บ้านพึ่งสุข  สถานบำบัดรอบที่สอง
ขอพูดถึงเรื่องบ้านพึ่งสุขได้อีกนิดหนึ่งจากเว็บเค้า
ดูจากรูปๆ โครงการบ้านพึ่งสุข
สถาบันจัดไว้อยู่ที่พื้นดินกว้างๆ ให้ดูคล้ายกับรีสอร์ทสไตล์ต่างจังหวัด
มีบ้านพักเล็กๆ มีจุดเด่นหลายจุดท่ามกลางสวนและต้นไม้สวยๆ จัดไปพร้อมกับสนามเล่นและสระน้ำอีกด้วย
เค้าอยากสร้างบรรยากาศให้สบายตาและชวนให้น้องๆคลายเครียด
-
เว็บบอกว่า น้องๆผู้เป็นสมาชิกต้องมาพร้อมใจแก้ไขนิสัยเสียๆ ตัวเอง
ตามกฏระเบียบสถาบันในช่วงแรก น้องๆ ไม่ค่อยมีสิทธิ์ในการอยู่ร่วมกับกลุ่ม
คล้ายกับว่าเด็กซนที่โดนพ่อแม่ลงโทษ ถ้าอยากได้สิทธิ์เดิมๆ กลับมา เค้าต้องปรับตัวให้ดีขึ้
เช่น ในขั้นตอนแรกน้องๆต้องผ่านการปลดจากพี่เลี้ยงและรออีกหนึ่งเดือนถึงจะขอติดต่อกันได้
กฏอีกข้อบอกว่า เค้าต้องสามารถดูแลตัวเอง เช่นรักษาความสะอาดร่างกายและความเรียบร้อยในห้อง
รับคำสั่งและเป็นผู้ร่วมทีมที่ดีเป็นต้น
-
ถ้าเค้าทำตัวดี จะมาถึงขั้นตอนที่สองแล้วเค้าจะได้รับสิทธิ์ได้คุยกับผู้ปกครองทางโทรศัพท์ แล้วถ้าการพัฒนาตนให้ดีกว่านี้อีก จะได้รับสิทธิ์มากขึ้นต่อเนื่อง ร่วมทั้งได้ชวนผู้ปกรองมานอนค้างคืนที่สถาบัน และในช่วงสุดท้ายจะได้รับสิทธิ์พีคสุดก็คือได้กลับไปเยี่ยมบ้านเป็นวันเดียว
-
ผู้คุมจะค่อยสั่งสอนและเพิ่มกิจกรรมเชิงท้าทายให้ผู้เป็นสมาชิก จนเค้าสามารถรับน้องๆคนใหม่ในการดูแลตนได้ นอกนั้นน้องๆต้องเข้าประชุมกันบ่อยๆ เพื่อจะรับ feedback จากทีมผู้คุมและผู้เป็นสมาชิกอื่นด้วย
คือผู้เป็นสมาชิกเองจะคอยวิจารณ์นิสัยหรือการกระทำการเองในเชิงสร้างสรรค์ด้วย
ส่วนผู้ปกครอง เค้าจะได้รับเชิญเข้าการประชุมบ้าง และในช่วงสุดท้ายก่อนน้องจะกลับเข้าสังคม ผู้ปกครองจะได้รับเชิญมานั่งกับผู้คุมและน้อง เพื่อจะจัดวางแผนอนาคตให้น้องในความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ในการงานหรือเรียน ค้าใช้จ่าย และพัฒนาตัวน้องเองอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
-
สถาบันอาจใช้เวลา 10-12 เดือนแบ่งเป็นสามเฟซหรือระยะยาว
ผมไม่รู้ว่าจะปรับระยะการอบรมให้เร็วขึ้นหรือช้าลงตามความพัฒนาของแต่ละคนผู้เป็นสมาชิกรึป่าว
หลังจากน้องจะกลับไปสู้สังคมและดำรงชีวิตอีกแล้ว ทางสถาบันจะคอยติดตามผลและความคืบหน้า
-
สรุปแล้ว น้องมีโอกาสสร้างตัวเป็นคนดีมากหน่อยแค่ไหน จะขึ้นอยู่กับว่าเค้าจะเรียนรู้อะไรบ้างและยอมใจเปลี่ยนตัวเองมั้ย ส่วนแม่ เค้าพร้อมรึยังที่ได้ใช้เวลากับลูกบ้างมั้ย
ไม่ต้องพาออกไปเที่ยวหรือวิ่งไล่ตามเวลาที่เสียไปก่อนหน้านี้หรอก
อดีตก็ผ่านไปแล้ว จะย้อนรอยกลับไปเจอมันอีกไม่ได้
แค่คุยกันดีๆ คุยกันบ่อยๆ และให้กำลังใจน้องด้วยก็พอ
แล้วพยายามนึกถึงลูกในแง่บวก ไม่ใช่แง่ลบ ได้มั้ย
ผมไม่อยากเห็นแม่กลับไปคิดเหมือนเมื่อก่อน
อย่าพึ่งสงสารตัวเองจนลูกจะกลายเป็นเด็กไม่น่ารักในมุมความคิดแม่
ตัวอย่างเช่น
หลายเดือนที่แล้ว แม่ไปหาพ่อเค้าที่ต่างจังหวัด
เค้าคงหยิบเรื่องธีร์ไปคุยกันนั้นแหละ
จากนั้นแม่ก็โพสคำแนะนำพ่อในเชิงว่า
พ่อฉันบอกว่า เวรกรรมที่แม่สร้างไว้ ต้องไปตกอยู่กับน้องธีร์แทนแม่
แม่ใจแข็งกร้าวเกินไป เวรกรรมนั้นกลัวไปหาแม่และไปโจมตีลูกแทน ซึ่งเป็นจุดอ่อนในครอบครัวเรา
อ้าว จะไปหมกหมุ่นเรื่องเวรกรรมทำไมนะแม่ ไม่เห็นช่วยอะไรเลย แค่เอาครอบครัวไปรอดถึงฝั่งก็ยากอยู่แล้ว แต่โดยภาพรวมแล้วแม่มีท่าทางว่าจะทำต่อให้ลูกดีขึ้น
now, see here

job at the 7-11, back to rehab (12)

ธีร์กับกับเด็กผู้บำบัดตัวอีก ยิ้มแย้มแจ่มใส
โพสนี้เป็นครั้งแรกที่แม่เปิดเผยชื่อสถานบำบัดตัวน้องด้วย ก็คือบ้านพึ่งสุขนั้นเอง
เว็บ บ้านพึ่งสุข อธิบายวีธีการและขั้นตอนที่ทางเค้าจัดไว้ให้ผู้เข้ามาเป็นสมาชิกอย่างน้อง ภายใต้โมเดล TC นั้นในรายละเอียดดี
-
ก่อนที่เล่าเรื่องราวน้องต่อ ผมจะอธิบายระบบ TC หน่อยว่าเค้ามักจะเจออะไรบ้าง
โดยลอกหลักการกระบวนการจากเว็บเพจ ๆ หนึ่งเป็นภาษาอังกฤษก่อนเพราะเค้าจำกัดความไว้แน่นหนาดี

Therapeutic community is a participative, group-based approach to long-term mental illness, personality disorders and drug addiction. Those seeking rehabilitation from drug addiction live and work side-by-side with other recovering addicts, group leaders and staff for extended time periods. During that time, participants learn to abide by the rules and discipline of the group. By adapting to the level of proper and moral behavior demanded by the group, addicts gain back some of the life skills that are generally lost to addiction.

ตามมาเป็นภาษาไทย TC ผู้เป็นสมาชิกต้องเข้าชุมชนทดลอง โดยพักอยู่ด้วยกันเป็นหลายเดือนและอยู่ภายใต้การดูแลของทีมผู้คุม ซึ่งสถาบันนั้นจะกลายเป็นบ้านชั่วคราวที่แตกแยกออกจากสังคมจริง โดยผู้เป็นสมาชิกไม่ค่อยได้รับสิทธิ์ออกไปข้างนอก หรือรับข่าวจากสังคมเข้ามาด้วย

บ้านพักที่  บ้านพึ่งสุข  
น้องๆ ต้องช่วยกันทำงานและจัดกิจกรรมเหมือนคนปกติในสังคมข้างนอก เพื่อจะเรียนรู้ว่าเค้าชอบเล่นยาทำไม และเริ่มสร้างงานฝีไม้ลายมือในการดูแลตัวเอง และเรียนรู้การรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
ตามหลักการแบบสั้นๆ น้องๆ ต้อง 

1. เลิกยาได้
2. เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต (Lifestyle)
3.
 กำจัดพฤติกรรมต่อต้านสังคม
4.
 รู้จักทำงาน
5. 
มีทัศนคติที่ดีต่อสังคม และเพิ่มคุณค่าให้ตนเอง

now, see here

job at the 7-11, back to rehab (11)

ธีร์ยืนอยู่ด้วยกับผู้รับการบำบัดคนอื่น
รูปนี้ เป็นครั้งแรกที่เราได้เห็นหน้าธีร์ตั้งแต่เค้าไปรักษาตัว เมื่อเกือบสองเดือนก่อน
น้องยืนใกล้ชิดกับเพื่อนหนุ่มๆ ใส่หน้าไม่รับแขกเลย (เป็นรูปเดียวกันที่ธีร์จับคู่กับแม่ เจอกันที่นี่นะครับ)
มีหลายคนตอบโพสแม่ไปว่า หน้าธีร์ดูโหดๆ
ซึ่งแน่นอนอยู่แล้ว เค้าคงไม่แฮปปี้ที่ถูกกักตัวไว้ที่โน่นยาวนานโดยไม่มีโอกาสได้กลับเยี่ยมบ้าน
แม่เขียนแคปชั่นว่า
‘แววตาเอ็งร้ายได้ใคร หายป่วยไวๆ แม่สร้างโจทย์ไว้เยอะ  มึงอย่ายิ้มน๊า 55555’
-
เราแอบส่องเฟซแม่ไปเรื่อยถึงรู้ว่าในช่วงเดือนสิงหา เค้าเริ่มมีปัญหากับแฟนทอม
แม่แอบย้อนกลับไปลบทิ้งทุกโพสที่เกี่ยวกับทอมคนนี้
ซึ่งคงต้องใช้เวลาหน่อยเพราะสาวทั้งคู่นี้ ติดโซเชียลหนักไม่แพ้กัน เค้าโพสถึงกันตลอด
หลังจากทอมหายไปจากชีวิตแม่เป็นสักพักแล้ว
แม่เปลี่ยนข้อความที่หน้าเฟซ (สเตตัสตัวเองให้บอกว่า
ขอพบเจอแต่ความดี ไม่มีทุกข์
แม่บอก.. คิดใหม่ทำใหม่
รักใครไม่ได้อีกแล้วจะมีแค่ บี กับ พี่ธีร์
คือถ้าไม่มีแฟน จะมีเวลาว่างให้ลูกมากขึ้น
-
เวลาเลยไปถึง วันที่ 10 กันยา ก่อนแม่จะเขียนถึงธีร์อีกครั้ง
เมื่อแกเปิดเผยว่า ลูกรักษาตัวภายใต้โมเดลชื่อดังๆ ที่เค้าเรียกว่า ทีซี (TC - therapeutic community)
แม่เขียน
ระบบ TC ผู้บำบัด เดือดจริง
สงสารลูกนะแต่ต้องอดทน
ครั้งนี้ก็ไม่มีรูปประกอบ
แต่โพสนี้ เป็นครั้งแรกที่แกเปิดเผยรายละเอียดที่เกี่ยวกับแนวทางการบำบัดตัวของลูก 
สำหรับพวกเราที่เป็นห่วงน้อง ก็ถือว่าเป็นข่าวดี
ลูกโดนการบำบัดตัวแบบเดือดๆที่โน่นอะไรไม่รู้ แม่ไม่ได้อธิบาย
แต่ผมดีใจที่ได้รับข่าวนี้ เพราะโมเดล TC เน้นให้ผู้รับบำบัด ได้รู้จักความรับผิดชอบตัวเองและต่อสังคมด้วย
ซึ่งเป็นสิ่งที่น้องขาดไปในชีวิตและไม่มีใครสอนที่บ้านด้วย
แนวทางการบำบัดนี้คิดค้นและพัฒนาด้วยนักจิตแพทย์ฝรั่ง ชื่อ Maxwell Jones ซึ่งนำมาใช้กระบวนการนี้ครั้งแรกหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อรักษาจิตใจทหารผ่านศึก ที่ประเทศอังกฤษ และ อเมริกาด้วย
เมื่อได้เห็นผลดีต่อผู้ป่วยทางจิตพวกนี้
สถานบำบัดทั่วโลกหยิบเอาวีธิการรักษาแนวนี้ ไปใช้กับผู้ป่วยหรือผู้ติดยาทั่วไป เพื่อจะช่วยเค้ากลับไปสู้สังคมอีกที
ตลอดจนทุกวันนี้โมเดลการบำบัดตัว TC ยังได้รับกระแสนิยมดีอยู่ทั่วไป

ผู้คิดค้น Maxwell Jones
จากนั้น ในวันที่ เดือนตุลา
แม่โพสรูปน้องจากที่โน่นอีก
ผิดไปจากรูปที่แล้วที่น้องดูหน้าดุๆ
ครั้งนี้น้องกลับยิ้มแย้มแจ่มใสดี จนแม่ประทับใจเขียนว่า
‘55555 #สไลท์ดูกลุ่มบ้านพึ่งสุข 
ตกใจ  เธอยิ้มเก่ง กับ 4 เดือนผ่านไป

now, see here

โพส์ตเด่น

Mr Handsome returns

Mr Handsome เป็นผู้ชายไทยเกย์หนุ่มที่ เคยเขียนโพสต์ให้บล็อก Bangkok of the Mind หรือ BOTM2 (เป็นรุ่นพี่ของบล็อกฉบับนี้) เป็ นประจำหลายปีก่อน...

โพส์ตนิยม